[แนวทางการออกแบบ] [การปรับแต่งก่อนใช้งาน] [เริ่มลงมือสร้าง]

เดิมทีเดียวผมเองใช้ Notepad ของ Windows95 เขียน HomePageโดยใช้ HTML และได้ลอง
ใช้ HTML Editor ที่มีความสามารถสูงขึ้นเช่น HomeSite และอีกหลายๆ ตัวพบว่าเป็นการเขียน
HomePageที่เที่ยงตรงที่สุดมีความอ่อนตัวสูงไม่ยึดติดกับ WebBrowser ค่ายใดค่ายหนึ่งเกินไป

แต่สำหรับผมแล้ว ผมมีปัญหาติดอยู่ที่ความไม่มีพรสวรรค์ในด้านศิลปะการออกแบบเลย เห็นเพื่อนๆ
เขาออกแบบปกหนังสือ ,นามบัตร ,การ์ดอวยพรต่างๆ ซึ่งผมดูแล้วสวยงามมาแต่ผมลองทำตามแล้ว
ไม่เห็นได้เรื่องสักครั้ง การเขียน HomePageของผมจึงไม่พัฒนาไปถึงไหนเปลี่ยนรูปแบบไปมานับ
ครั้งไม่ถ้วน ดูอย่างไร ก็รู้สึกขัดๆตา อีกทั้งผมมีเวลาว่างน้อยมากเป็นเหตุให้การพัฒนาHomePage
ของผมเป็นไปอย่างล่าช้า

ต่อมาผมได้รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆทั้งที่พบปะกัน และอ่านใน Pantip.comเห็นเค้าพูดถึง
การใช้ Netscape Composer ทั้ง Gold และ Navigator ผมจึงลองดูกับเค้าบ้างจึงพบว่าเป็น
มิติใหม่ในการเขียน HomePage อะไรต่อมิอะไรก็ดูสะดวกสบายขึ้นอีกเยอะ แต่ยังขาดลูกเล่น
พื้นๆ เช่นการจัดการเกี่ยวกับคำสั่ง on mouse เป็นต้น ต้องมาเขียน HTML ค่อยข้างมากหน่อย
แต่ผมก็ชอบเค้านะ

จนในที่สุดผมได้นำเอา Macromedia Dreamweaver 1-1.2 มาใช้ซึ่งก็ยังดูติดขัดไม่สะดวกอยู่ดี
อาจเป็นเพราะยังปรับตัวให้เข้ากันกับวิธีการเขียนแบบใหม่ยังไม่ได้ เลยเปลี่ยนไปใช้ NetObjects
Fusion3.0 ซึ่งสร้างความประทับใจให้ผมเป็นอย่างมากจนถึงขั้นหลงไหลก็ว่าได้ อะไรก็ดูดีไปหมด
โดยเฉพาะการจัดรูปแบบ การจัดการภาพ ง่ายมากเพียงเอา Mouse จับรูปภาพแล้วลากวางได้ตาม
ที่ต้องการอีกทั้ง Themes (HomePageตัวอย่าง) .ก็ดูสวยตามแบบฉบับของมืออาชีพ ผมเลยสนุก
กับการศึกษาเจ้า NetObjects Fusion3.0 เป็นอย่างมาก

แต่ในทีสุดผมก็มาสดุดตรงที่ การเขียนสำหรับจอภาพหลายๆขนาดโดยให้ HomePage ที่เขียนขึ้น
สามารถแสดงผล .ตรงกึ่งกลางหน้าจอพอดี คือไม่ต้องชิดขอบซ้ายของจอตลอด โดยที่ขอบด้านขวา
ว่างเยอะ จริงๆแล้วมันไม่ใช่ปัญหาใหญ่เลยเพราะ WebSite ที่ดังๆหลายแห่งเขาก็ไม่สนใจในการ
จัดรูปแบบให้อยู่ตรงกลางตลอดขอให้สื่อสารกับผู้ชมได้และรูปแบบดูดีเท่านั้นเองแต่คนคิดมากอย่าง
ผมยอมไม่ได้ (หัวรั้นอยู่ดี) พยายามเท่าไหร่ก็ไม่ได้ (จริงๆแล้วอาจทำได้ก็ได้แต่ผมหาวิธีการไม่เจอ)

และแล้วผมก็ทิ้งเธอสุดที่รักเปลี่ยนใจไปหา FrontPage 9x ครั้งแรกที่ผมสัมผัส ก็พบว่า Themes ดูอย่างไรก็ลิเกดีๆแต่ก็ช่างเถอะเพราะผมไม่ได้ใช้ Themes อยู่แล้วจุดเด่นอยู่ที่เรื่องของภาษาไทย
และ การจัดการปุ่มกดต่างๆ การใช้ลูกเล่นเรื่องForm ต่างๆ ใช้งานได้ดีมาก

ซึ่งพอร่ายมาถึงตรงนี้พอสรุปการใช้งาน(สำหรับผม)ได้ดังนี้
1.ใช้จะเขียนโดยใช้ HTML ใช้ HomeSite เวอร์ชั่น 2.xx ดีสำหรับผมหรือใช้ Arachnophilia
เขียนตัวเล็กสะดวก และ เร็วดี

2.ใช้ Netscape Composer ง่ายดีและไม่ต้องจัดหาให้ยุ่งยาก เพราะแถมมากับ Netscape แล้ว
การใช้งานก็คล้ายๆ Dreamweaverแต่ลูกเล่นพิเศษต่างๆไม่ค่อยมี ต้องออกแรงหน่อย โดยต้องใช้
ความรู้ด้าน HTML พอสมควรหากต้องการให้ HomePage ที่เขียนขึ้นมามีลูกเล่น HomePage ที่พวกเราคุ้นตาและและเข้าชมบ่อยๆ หลายแห่งก็ใช้ Netscape Composer นี่แหละเขียน

3. Microsoft FrontPage98 มีความสะดวกในการใช้งาน มีเครื่องมือช่วยในการเขียนHomePage ที่ตรงจุดประสงค์ของผู้ใช้ กล่าวคือ หากมีความต้องการในการ สร้าง HomePage ให้เสร็จภายในไม่
เกิน 3วัน(ไม่รวมการปรับแต่งรูปภาพประกอบจากภายนอกของผู้สร้างเอง)เจ้าMicrosoftFrontPage
ช่วยท่านได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญหากใช้เครื่องมือที่ให้มาเต็มประสิทธิภาพ ลืม HTML ได้เลยครับ

4. NetObjects Fusion 3.0 มีความสะดวกและความง่ายในด้านการจัดรูปแบบภาพที่ปรากฎบนหน้า
จอ (มีโปรแกรมประเภทเดียวกันนี้อีกตัวหนึ่งคือ Drumbeat 2.0 แต่ตัวนี้เน้นที่ความสามารถในด้าน
การจัดการเกี่ยวกับ Database เป็นหลัก) ส่วนอื่นๆจะเหมือนกันกับเจ้าMicrosoft FrontPage98
แต่การใช้งานในด้านทั่วๆไปจะค่อนข้างยากนิดหน่อย แต่หากคุ้นเคยกับเค้าแล้วต้องยกนิ้วให้เค้าเลย

5. Macromedia Dreamweaver ผมชอบเค้าตรงที่ขนาดไม่ใหญ่โตเกินไป ถือได้ว่าเป็นโปรแกรมที่
มีความพอตัว ไม่มีเครื่องมือมากเกินการใช้งานทั่วๆไป และน้อยจนไม่สะดวกต่อการใช้งานจะว่าใช้งาน
ง่ายก็ไม่เชิงบางครั้งต้องออกแรงบ้าง มีความอ่อนตัวในการใช้งานสูง ไม่ผูกขาดการใช้งานจนเกินไป

สรุปสุดท้ายสำหรับผมเอง ผมชอบ Macromedia Dreamweaver ,NetObjects Fusion V3.0
และ Netscape Conposer ครับ

ไหนๆก็ร่ายมามากแล้ว ร่ายต่ออีกนิดหน่อยคงไม่ว่ากันนะครับ เกี่ยวกับอุปกรณ์และโปรแกรม ที่ผม
ใช้ในการพัฒนาโครงงานนี้มีอะไรบ้าง ลองติดตามดูนะครับแล้วจะพบว่าผมเองไม่ธรรมดาเลยนะ
(กระจอกเสียไม่มีนะ)
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหลักที่ผมใช้กว่า 80 % (เครื่องที่บ้าน) ของงานนี้คือ Pentium 133 MHz Ram 48 MHz Harddisk 1.2 GB. CDROM 8 x VGA Card S3 Trio64V+ VRAM1 MB.
2. คอมพิวเตอร์ตัวสำรองที่ใช้ที่ Office คือ Pentium 120 MHz RAM 64 MB. Harddisk 1.6 GB.
VGA Virge 3 D VRAM 2 MB.
3.โปรแกรมที่ใช้คือ Photoshop 4.0 ,Micromedia Dreamweaver 2.0 ,Microsoft IE 4.01,
Netscape Navigator 4.5 PR1 ,Arachnopillia V3.9 Build 5106 ,Cute FTP V2.6

จริงๆแล้วผมทำกิจการขายคอมพิวเตอร์ เป็น ศูนย์อินเตอร์เน็ต มี Domain ของตัวเองก็มาก แต่ที่เห็น
นี่ผมแอบทำจริงๆ เห็นหลายคนเค้าทำและดีด้วย ผมเองมีเวลาน้อยมากในแต่ละวันและอยากรู้ว่าตัว
เองจะทำได้หรือไม่ จึงลองทำดู โดยที่ไม่เคยบอกคนใกล้ชิดให้ทราบด้วย อายเค้านะครับ

แนวทางในการพัฒนางานเขียน HomePage

1.ต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดว่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับอะไร

2.จงอย่าเสียเวลาแช่อยู่กับความสวยงามในหน้าแรก โดยเฉพาะเกี่ยวกับการตกแต่งภาพต่างๆ จะทำให้
ท่านเสียเวลาเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการพัฒนาโครงงาน และอาจจะไม่เสร็จเลย

3.ให้ออกแบบโครงสร้างของโครงงานว่าจะต้องมี กี่หัวข้อแต่ละหัวข้อจะแบ่งออกเป็นกี่หน้า และ
เชื่อมโยงกับอย่างไรบ้าง และจงรีบเขียนแต่ละหัวข้อให้เสร็จให้เร็วที่สุดก่อน แล้วค่อยแก้ไขที่หลัง

4.พยายามใช้คำสั่ง หรือ เทคนิคพื้นๆ ในการพัฒนาโครงงานก่อน อย่าพึ่งใจร้อนเพื่อที่จะใช้เทคนิค
ที่ซับซ้อน หรือคำสั่งที่ยากๆ เอาไว้ให้ได้โครงสร้างเป็นรูปร่างก่อนจึงค่อยปรับแต่งทีหลัง

5.จงเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด และจงพอใจในผลงานของตัวเอง เมื่อการพัฒนาโครงงานเสร็จกว่า
80 % - 100 % แล้ว จึงค่อยมาพิจารณาอีกครั้งโดยอาจศึกษารูปแบบของ HomePage อื่นๆ ที่ดูดี
มาพัฒนาโครงงานของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น

6.จงใช้สีตัวอักษร และ สี พื้น ที่เป็นธรรมชาติ และดูง่าย อย่าเสียเวลากับการตกแต่งสีต่างๆจนเกินไป

7.จงให้ความสำคัญกับเนื้อหาของโครงงาน มากกว่าความสวยงามของ HomePage กล่าวคือ เนื้อหา
มาก่อน ความสวยงามมาทีหลัง ความสวยงามจะตกแต่งอย่างไรก็ได้เมื่อ เนื้อหาสมบูรณ์แล้ว

8.จงอย่าเกลียด HTML เพราะอย่างไรก็ต้องใช้อยู่ดี ตราบใดที่ใช ้โปรแกรม Web Editor ประเภท
WYSIWYG อย่าง Macromedia Dreamweaver ,Front Page ,NetObject ,Netscape ฯลฯ
และ ยังต้องการให้ HomePage มีความถูกต้องในการทำงาน หนีไม่พ้น HTML ครับ

9.อย่าใช้Graphices จำนวนมากในแต่ละหน้าจนเกินไป จะทำให้การ Load จากผู้ใช้ ต้องใช้
เวลามาก เป็นเหตุให้ผู้ใช้เบื่อได้

10.










 

Copyright (1998-1999) All rights reserved